ดูแลลูกน้อยอย่างไรหลังฉีดวัคซีน BCG

วัคซีนป้องกันโรควัณโรค (BCG)

เด็กทุกคนที่เกิดในโรงพยาบาลเปาโล รังสิต จะได้รับการฉีดวัคซีนที่ต้นแขนด้านซ้าย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันของตัวเองด้วยเชื้อโรคที่อ่อนแรง โดยบางส่วนของเชื้อโรคมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน เพราะฉะนั้นเมื่อรับวัคซีนแล้ว เด็กอาจมีอาการข้างเคียงบางอย่างเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีปฏิกิริยาต่อวัคซีน โดยปกติตัวยาจะดันผิวหนังให้โป่งนูน ขนาด 6-8 มม. หลังฉีดประมาณ 1 ชั่วโมง ผิวหนังที่นูนจะยุบหายไปคงเห็นเป็นแดงๆ

BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค

วัณโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่รู้จักกันในนามของ “เชื้อทีบี” เมื่อร่างกายได้รับเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกาย เชื้อส่วนใหญ่จะถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีเพียงส่วนน้อยที่จะหลบซ่อนอยู่ตามอวัยวะต่างๆ และอยู่ในภาวะสงบโดยไม่ก่อให้เกิดโรค หากแต่เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอลง เชื้อที่ซ่อนตัวอยู่จะทำให้เกิดโรค ซึ่งวัคซีนป้องกันวัณโรค BCG vaccine หรือ Bacillus Calmette Guerin vaccine เป็นวัคซีนป้องกันวัณโรค ที่เป็นการทำให้เชื้อโรคอ่อนแรงลง กลไกการทำงานของวัคซีนคือเชื้อที่ฤทธิ์อ่อนลงจะเข้าไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สามารถรับมือกับเชื้อวัณโรคได้ โดยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้วัคซีน BCG เป็นวัคซีนพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนต้องได้รับตั้งแต่แรกเกิด

ใครบ้างต้องฉีดวัคซีนป้องกัน “วัณโรค”

BCG จัดเป็นวัคซีนพื้นฐานที่ต้องฉีดให้เด็กแรกเกิดทุกคน เมื่อฉีดแล้วภูมิคุ้มกันจะเกิดหลังจากฉีดไป ภายในสัปดาห์ที่ 2 หลังฉีดจะมีตุ่มนูนเกิดขึ้นและแตกออกเป็นแผลเล็กๆ อยู่ประมาณ 6 สัปดาห์ ก็จะหายไปเหลือแต่รอยแผลเป็นขนาดเล็ก ซึ่งวัคซีนชนิดนี้สามารถป้องกันวัณโรคได้ประมาณ 80% และยังช่วยลดความเสี่ยงโรควัณโรคที่เยื่อหุ้มสมองในเด็กได้ด้วย

วัคซีน BCG ฉีดอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้ววิธีการฉีดวัคซีน BCG ทำได้โดยฉีดเข้าผิวหนัง บริเวณต้นแขน ไหล่ด้านซ้าย ด้านขวา หรือที่สะโพก แล้วแต่ข้อกำหนดของแต่ละโรงพยาบาล แต่ไม่ควรฉีดบริเวณต้นขาของทารกเพราะบริเวณดังกล่าวมีโอกาสเกิดการเสียดสีจากผ้าอ้อมหรือขาเสียดสีกัน จะทำให้การดูแลรักษาแผลหลังฉีดวัคซีนทำได้ยาก

รูปอ้างอิงจาก : http://www.mamaexpert.com/posts/content-3570 

การดูแลลูกน้อยหลังได้รับวัคซีนป้องกัน โรควัณโรค (BCG)

ระหว่างสัปดาห์ที่ 2 จะเกิดตุ่มแดงๆ บริเวณที่ฉีด ซึ่งตุ่มจะโตขึ้นช้าๆ กลายเป็นฝีเล็กๆ และมีหัวหนองสีขาว จากนั้น 1-2 เดือน บริเวณหนองก็จะแห้งหายไป
ในช่วงที่เป็นหนอง สามารถอาบน้ำให้เด็กได้ตามปกติ และต้องระวังไม่ให้หนองแตก เพราะเชื้อโรคจะเข้าไปได้ ทำให้เกิดการอักเสบลุกลาม แต่ถ้าเห็นว่าแผลที่เป็นหนองแตกแล้ว คุณแม่จะต้องเช็ดผิวหนังบริเวณนั้นของลูกให้สะอาดด้วยน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว และบริเวณแผลต้องแห้งอยู่เสมอ ห้ามทายา หรือครีมใดๆ ห้ามกดหรือใช้ผ้าพันแผลปิดบนแผล และสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม
 

**หากเกิดต่อมน้ำเหลือง บริเวณใกล้เคียงมีขนาดโตมาก หรือผลข้างเคียงอื่นๆควรพบแพทย์ทันที**

ขอบคุณบทความดีๆ จาก
ทีมพยาบาลห้องเด็กแรกเกิด โรงพยาบาเปาโล

หมวดหมู่สินค้าแม่และเด็ก

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า