แพทย์เตือนโพสต์รูปลูกลงโซเชียลฯ

เตือนโพสต์รูปลูกลงโซเชียลฯ อาจเกิดผลเสียที่คาดไม่ถึง

ผู้ปกครองในปัจจุบันนิยมใช้โซเชียลฯ ในการโชว์ภาพถ่ายของลูกน้อยกันอย่างกว้างขวาง รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของลูก หวังให้คนรอบข้างได้ชื่นชม ทั้งยังพบอีกว่าบางรายไม่เพียงแต่โพสต์ภาพถ่ายลูกในบัญชีโซเชียลฯ ส่วนตัวเท่านั้น แต่ยังมีการสร้างเพจหรือมี Instagram ให้ลูกโดยเฉพาะ และเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นส่วนตัว โดยหารู้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวมีข้อเสียแอบแฝงอยู่มากมายที่พ่อแม่คาดไม่ถึง จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจ เพื่อการใช้โซเชียลฯ ในการแบ่งปันเรื่องราวของลูกน้อยอย่างเหมาะสม

62455

ก่อนอื่นเลยเราต้องทำความรู้จักกับสิทธิเด็ก 4 ประการ กันก่อน

แม้ลูกของคุณจะยังเป็นเพียงแค่เด็กทารก แต่ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง พวกเขาก็เป็นสมาชิกในสังคมเช่นเดียวกับผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ในเมื่อพวกเขายังดูแลปกป้องตัวเองไม่ได้ นอกจากพ่อแม่ผู้ปกครอง เด็กจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเฉพาะที่เรียกว่า “สิทธิเด็ก” ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้กำหนดสิทธิเด็กไว้ 4 ประการ ให้เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 0-18 ปี ทุกคนต้องได้รับ คือ

1. สิทธิที่จะมีชีวิตรอด (Right of Survival) เป็นสิทธิที่เด็กได้รับตั้งแต่แรกเกิด เด็กมีสิทธิในการอยู่รอดปลอดภัยตั้งแต่เมื่อคลอด ไม่ว่าเด็กจะเกิดมาปกติหรือมีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจหรือไม่ก็ตาม พวกเขาต้องได้รับการจดทะเบียนเกิดเพื่อเป็นประชากรของประเทศ ได้รับการเลี้ยงดู ปกป้องคุ้มครองจากพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อจะได้มีโอกาสที่จะเติบโตและพัฒนาต่อไป

2. สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right of Development) เป็นสิทธิที่จะเข้าถึงการศึกษาและการพัฒนาตามมาตรฐาน ตามกฎหมายเด็กต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับ 12 ปี โดยจะต้องเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อต่อยอดสู่ทักษะเฉพาะและการประกอบอาชีพ มีความเป็นอยู่และโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย ได้รับการส่งเสริมเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ที่จะทำให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเติบโตเพื่อพึ่งพาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพในอนาคต

3. สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection) เป็นสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากพ่อแม่ผู้ปกครอง เมื่อเด็กมีชีวิตรอด เด็กจะต้องไม่ถูกล่วงละเมิด ไม่ถูกทารุณกรรมทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะด้านร่างกายหรือจิตใจ ต้องมีการคุ้มครองเรื่องการใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมาย การใช้แรงงานเด็กเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ การขัดขวางการศึกษา และเด็กมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากกระบวนการยุติธรรม

4. สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right of Participation) เป็นสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคมเช่นกัน สามารถแสดงออกทั้งในด้านความคิดและการกระทำได้อย่างเสรี การมีบทบาทในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่ออนาคตของตนเอง ผู้ใหญ่จะต้องจัดให้ตามสมควรแก่อายุและวุฒิภาวะของเด็ก และไม่ควรกีดกันการแสดงออก พร้อมกับรับฟังในความคิดของเด็กด้วย

2541

ข้อเสียของการโพสต์รูปลูกลงโซเชียลฯ ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็ก

การโพสต์รูปลูกน้อยแต่ละครั้งอาจไม่ใช่แค่การอวดภาพถ่าย แต่ยังเป็นการแสดงออกถึง “ข้อมูลพื้นฐานของเด็ก” ได้แก่ ชื่อ อายุ โรงเรียน ช่วงเวลาที่ผู้ปกครองจะไปรับเด็กที่โรงเรียน และข้อมูลชีวิตประจำวันอื่น ๆ ของเด็ก ข้อเสียที่สำคัญคือถ้าหากข้อมูลเหล่านี้ถูกเผยแพร่ไปยังผู้ที่มีความประสงค์ร้ายต่อเด็กหรือมิจฉาชีพ อาจนำไปสู่อันตรายต่อตัวเด็กเอง เช่น การสะกดรอยตาม การลักพาตัวเด็ก เป็นต้น

การเลี้ยงดูที่ไม่เป็นธรรมชาติ

หลายครั้งที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กมีการโพสต์รูปลูกลงโซเชียลฯ แล้วนำไปสู่การสร้างตัวตนให้เด็ก โดยเป็นไปในแบบที่ตนเองต้องการ ทำให้ในชีวิตจริง เด็กหลายคนต้องดูดีหรือดูน่ารักตลอดเวลา ต่อหน้าสาธารณชน อาจทำให้เด็กสูญเสียความเป็นตัวเองและสูญเสียความเป็นเด็ก เนื่องจากผู้ปกครองบางรายมีการจัดการกับเด็กที่ฝืนธรรมชาติ เพื่อให้ภาพที่ออกมาดูดี ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กบางคนอาจต้องการวิ่งเล่น ซุกซนตามวัย ร้องไห้ งอแง จึงอาจกลายเป็นปัญหาตามมาด้านการปิดกั้นพัฒนาการของเด็ก สืบเนื่องมาจากปัญหาการดำเนินชีวิตของเด็กที่ไม่เป็นธรรมชาติ

ส่งผลต่อสภาพจิตใจในอนาคตของเด็ก

พ่อแม่บางท่านโพสต์รูปลูกที่เป็นปัญหาต่อสภาพจิตใจเด็กในอนาคต เช่น รูปเด็กเปลือย เมื่ออนาคตเด็กโตขึ้น อาจถูกขุดคุ้ยภาพในอดีตที่พ่อแม่เคยโพสต์ไว้มาล้อเลียน และส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเด็กเมื่อโตขึ้นได้ เป็นต้น หรือเด็กหลายรายไม่ชอบที่จะโตไปแบบมีคนรู้จัก หรือมีคนทักทายตลอดเวลา

ข้อควรทำในการโพสต์รูปลูกลงโซเชียลฯ

  1. พ่อแม่ควรเคารพสิทธิของเด็กในการจะโพสต์ภาพหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเด็ก ถ้าจำเป็นหรือตัดสินใจโพสต์ควรคัดสรรเนื้อหาที่เหมาะสมในการโพสต์
  2. หากเด็กเริ่มรู้ความหรืออายุ 2-3 ขวบขึ้นไป ควรถามเด็กก่อนโพสต์ ว่าตัวเด็กเองชอบหรือไม่ชอบอย่างไร เด็กควรมีสิทธิในการอนุญาตก่อนโพสต์
  3. ก่อนโพสต์ภาพหรือข้อมูลอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับตัวเด็ก ควรคำนึงถึงอนาคตของเด็ก และควรแทนความรู้สึกของตัวเองลงไป ว่าถ้าหากเป็นตัวเองจะชอบโพสต์นั้นหรือไม่เมื่อโตขึ้น
  4. ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเด็กแก่สาธารณะ ควรตั้งค่าให้เป็นส่วนตัว หรือตั้งค่าให้เห็นเฉพาะกลุ่ม ผู้ที่เห็นข้อมูลหรือโพสต์ที่เกี่ยวกับเด็กควรเป็นคนที่ไว้ใจได้ เช่น ญาติ คนรอบข้าง ควรละเว้นการเผยแพร่ข้อมูลให้กับบุคคลแปลกหน้า

ขอขอบคุณข้อมูล จาก อ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร
โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

หมวดหมู่สินค้าแม่และเด็ก

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า