วัยทองเด็กสองขวบ รับมืออย่างไรให้อยู่หมัด !!

วัยทองเด็กสองขวบ รับมืออย่างไร ?

วัยทองสองขวบ หรือ Terrible two เด็กวัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และพฤติกรรม อย่างเห็นได้ชัด เด็กมักจะเริ่มมีพฤติกรรมหรืออารมณ์ที่คุณพ่อคุณแม่นั้นคาดเดาได้ยาก เด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะพัฒนาความรู้สึกของตนเอง มีความเป็นตัวของตัวเองในการริเริ่มอยากทำอะไรต่างๆ ซึ่งบางครั้งไม่ได้สอดคล้องกับความสามารถของตัวเอง ดังนั้น เด็กจะเกิดความไม่พอใจและแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยพฤติกรรมจะเป็นไปตามสรีรวิทยาของสมอง และในจังหวะที่เด็กอายุประมาณขวบกว่าๆ เป็นช่วงของสมองในด้านของอารมณ์ที่เริ่มจะพัฒนามากขึ้น

ซึ่งจะเห็นได้ว่าเวลาลูกของเรานั้นมีอารมณ์ มักจะเป็นอารมณ์ที่ขึ้นลงแบบสุดๆ เช่น ดีใจสุด โกรธสุด เสียใจสุด มักจะไม่ค่อยมีเหตุผล เพราะสมองส่วนเหตุผลจะโตช้ากว่าส่วนของอารมณ์ จึงทำให้เห็นได้ชัดเลยว่าเด็กในวัยนี้อารมณ์จะเด่นชัดมาก เวลาที่เกิดเหตุการณ์ใดขึ้นจะแสดงออกทางอารมณ์ทันที โดยที่ยังไม่มีเหตุผล

วัยทอง.g.2

วัยทองสองขวบ ช่วงวัยนี้เด็กๆ จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งการยืดตัวและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงทางความคิด ภาษาและสังคม ทำให้เด็กๆ เกิดความเครียดจากสิ่งเหล่านี้นั้นเองค่ะ อาการหลักๆ ได้แก่

  • เอาแต่ใจตัวเอง

  • ต่อต้านขัดขืน

  • กรีดร้อง งอแง

  • ขว้างปาสิ่งของ

  • หวงของตัวเอง

 

หากพบว่าลูกมีอาการ วัยทองสองขวบ คุณแม่จะต้องรับมือให้ถูกวิธีเพื่อที่ลูกจะได้หายจากอาการนี้ได้เร็วที่สุด สำหรับวิธีรับมือนั้นคุณแม่สามารถทำตามด้วยวิธีดังนี้

เด็กที่อยู่ในช่วง วัยทองสองขวบ เป็นช่วงเวลาที่เกิดอาการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ ในช่วงวัยนี้ลูกจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายอารมณ์สองขั้ว คุณแม่จะต้องทำความเข้าใจให้มากที่สุดอดทนอดกลั้นเข้าไว้เพื่อให้ลูกสามารถผ่านช่วงวัยนี้ไปให้ได้

  • พ่อแม่ต้องใจเย็นๆ

  • ห้ามดุ ห้ามตะคอก

  • ยื่นข้อเสนอให้ลูกเลือก

  • ใช้เหตุผลในการคุย

  • เบี่ยงเบนความสนใจ

  • ให้ลูกได้ใช้พลัง 

วัยทอง.g.4
วัยทอง.g.3

 

สาเหตุของอาการ วัยทองสองขวบ นั้นมีหลากหลายสาเหตุมาก แต่ลูกจะมี 2 ปัจจัยหลักๆ คือ ตัวเด็กเองและการเลี้ยงดูของคนในครอบครัว ถ้าอยากให้ลูกสามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ คุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องค่อยๆ พูดคุยแบบมีเหตุผลกับลูกไปเรื่อยๆ จนกว่าลูกจะเข้าใจว่า สิ่งไหนทำได้หรือทำไม่ได้ สิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำ ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลาค่อนข้างนาน เพราะต้องขึ้นอยู่กับพัฒนาการของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมการใช้เหตุผลด้วย 

แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ทำได้ก็จะเป็นประโยชน์กับตัวเด็กเองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเวลาที่ลูกต้องไปโรงเรียนหรือต้องไปอยู่ในสังคมที่มีเด็กคนอื่น ต้องทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ หรือคุณครูที่โรงเรียน เค้าก็จะสามารถปรับตัวและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ เพราะเค้าเรียนรู้วิธีที่จะควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตัวเอง

การมีพฤติกรรมวัยทองของลูกเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ว่าจะแสดงออกมากหรือน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับพื้นอารมณ์ สิ่งแวดล้อม และที่สำคัญที่สุดก็คือ การอบรมเลี้ยงดู ซึ่งตรงนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมและพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัย เพื่อจะได้หาวิธีรับมือได้อย่างเหมาะสม แต่ถ้ารู้สึกว่าเริ่มจะรับมือไม่ไหว ก็สามารถพาลูกมาปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอด้านพัฒนาการเด็กจะดีกว่าที่เรารับมือแบบผิดๆ 

หมวดหมู่สินค้าแม่และเด็ก

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า